ประวัติโรงเรียน

ประวัติโรงเรียนชุมชนบ้านโสก

                เมื่อปี พ.ศ. 2444  พระภิกษุขอม สมภารวัดทักษิณบ้านโสก ได้ให้พระลูกวัดที่มีความรู้ทางภาษาไทยสอนหนังสือแก่เด็กวัดที่บิดา – มารดานำมาฝากให้เป็นลูกศิษย์วัด การสอนในสมัยนั้นเรียกว่า “การต่อหนังสือ” โดยใช้ศาลาการเปรียญเป็นสถานที่เล่าเรียน การสอนในสมัยนั้นยังไม่มีระเบียบแบบแผน

                พ.ศ. 2447  หลวงสวัสดิ์วิธีสอน ธรรมการจังหวัดชัยภูมิ ได้จัดตั้งโรงเรียนประชาบาลและแต่งตั้ง นายกรม พิมสิม (ขณะนั้นยังเป็นพระภิกษุอยู่) เป็นครูสอนและสอนตามคำแนะนำของธรรมการจังหวัด  ยังไม่มีหลักสูตรการเรียนการสอนแน่นอน ครูผู้สอนได้ค่าตอบแทนจากการเรี่ยไรเงินจากชาวบ้านตามควรแก่อัตภาพ

                พ.ศ. 2468 รองอำมาตย์โทขุนสรรพกิจโกศล  นายอำเภอเมืองชัยภูมิ ได้เปิดโรงเรียนและดำเนินการสอนตามหลักสูตรพระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช 2468 เกณฑ์เด็กที่มีอายุระหว่าง 10 – 15 ปีให้เข้าเรียน สำหรับค่าตอบแทนของครูผู้สอนนั้นก็เก็บจากชายฉกรรจ์ในหมู่บ้านคนละ 1 บาท ต่อปีซึ่งเรียกว่า “เงินศึกษาพลี” และได้ตั้งชื่อโรงเรียนนี้ว่าโรงเรียน “โรงเรียนประชาบาลตำบลยางหวาย 1  (วัดทักษิณบ้านโสก) ”

            พ.ศ. 2468 ทางราชการได้แต่งตั้ง นายผล  อุดมเศรษฐ์ (ผล  อุตชี)  มาเป็นครูใหญ่ได้จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรโดยสมบูรณ์  โดยครูผู้สอนได้เงินเดือนจากทางราชการตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

                พ.ศ. 2479 ทางราชการได้แต่งตั้ง นายถนอม  ศรีพันธุ์  เป็นครูใหญ่แทน นายผล  อุดมเศรษฐ์  ซึ่งย้ายไปดำรงตำแหน่งที่อื่น  การเรียนการสอนดำเนินตามหลักสูตรกระทรวงธรรมการเช่นเดิมเริ่มมีการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้ได้มาตรฐานยิ่งขึ้น

                วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2481  ทางราชการได้แต่งตั้งนายพัน  ชีชัยภูมิ  เป็นครูใหญ่แทน         นายถนอม  ศรีพันธุ์  ซึ่งย้ายไปดำรงตำแหน่งที่อื่น

                วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2482  ทางราชการได้แต่งตั้ง  นายถนอม  ศรีพันธุ์  กลับมาเป็นครูใหญ่   แทนนายพัน  ชีชัยภูมิ  อีกครั้งหนึ่ง  และในปีเดียวกันนั้น นายถนอม  ศรีพันธุ์ได้ลาออกจากราชการเพื่อประกอบอาชีพอื่นทางราชการได้แต่งตั้ง นายหา  ชวนชัยภูมิ  เป็นผู้รักษาราชการแทนครูใหญ่ไว้ก่อน

วันที่ 16  เมษายน พ.ศ. 2484  ทางราชการได้แต่งตั้ง นายสด  อาจศิริ  เป็นครูใหญ่  ในระยะนี้จำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้น  สถานที่เล่าเรียนคับแคบจึงได้ขยายห้องเรียน  และสถานที่เพิ่มขึ้นอีกและจัดหาสถานที่ปลูกสร้างอาคารเรียนเอกเทศถาวรต่อไป  โดยขอบริจาคเงินจากชาวบ้านซื้อที่ดินในเนื้อที่ 16 ไร่ 2 งานเศษ  คิดเป็นเงินในระยะนั้น  60 บาท  ต่อมาประชาชนเริ่มให้ความสนใจด้านการศึกษามากขึ้นตามลำดับจึงได้เปิด  โรงเรียนผู้ใหญ่ขึ้นเพื่อสอนประชาชนที่มีความสนใจเพิ่มพูนความรู้โดยไม่คิดค่าตอบแทน

                วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2486  ทางราชการได้แต่งตั้ง นายมานิตย์  รวิยะวงศ์  (นายบุญมา  ปวงชัยภูมิ) เป็นผู้รักษาราชการแทนนายสด  อาจศิริ  ซึ่งย้ายไปดำรงตำแหน่งที่อื่น

                วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2490 ทางราชการได้แต่งตั้ง นายยรรยง  ไตรณรงค์  (นายแพงสี   ไตรณรงค์)  มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่

                พ.ศ. 2492 ทางราชการได้แต่งตั้ง นายวีระพล  นาคคำ  มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ แทน           นายยรรยง  ไตรณรงค์  ซึ่งย้ายไปเป็นสารวัตรนักศึกษา  ในระยะนี้มีนักเรียนเพิ่มขึ้นมากตามลำดับ       และสถานที่เล่าเรียนซึ่งเป็นศาลาวัดคับแคบแออัด  จึงขอเงินบริจาคจากประชาชนในหมู่บ้านสมทบกับเงินงบประมาณทำการ ปลูกสร้างอาคารเรียน 1 หลัง ตามแบบ ป. 2 สองชั้น จำนวน 8 ห้องเรียนขนาด 9 ( 24 เมตร เริ่มยกเสาเอกขึ้นในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2494 เวลา 09.20 น.  สร้างเสร็จเรียบร้อยในวันที่       21 มีนาคม 2494  และได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น  “ โรงเรียนสามัคคีราษฎร์วิทยาคม ”  ในปีการศึกษา  2494 ได้ย้ายสถานที่เรียนจากวัดทักษิณบ้านโสกมาสถานที่แห่งใหม่ซึ่งเป็นโรงเรียนในปัจจุบันนี้

                พ.ศ. 2497 ทางราชการได้แต่งตั้งให้  นายวีระพล  นาคคำ  ไปดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศึกษาธิการอำเภอและแต่งตั้งให้นายศิษฏ์  เทอดคุณ (นายณรงค์  วงศ์สาระ)  มาดำรงตำแหน่งแทนได้ขอเงินบริจาคจากชาวบ้านสร้างหอประชุมขึ้น 1 หลัง เพื่อใช้เป็นสถานที่ประชุมและสถานที่เรียนด้วย

                วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2499 ทางราชการได้แต่งตั้งให้ นายพรหมมา ทวีชาติ   มาดำรงตำแหน่งแทน นายศิษฏ์  เทอดคุณ  ซึ่งย้ายไปดำรงตำแหน่งที่อื่น  และได้ดำเนินการต่อเติมอาคารหอประชุมให้เสร็จเรียบร้อยสมบูรณ์

                วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2501  ทางราชการได้แต่งตั้งให้  นายวีระพล  นาคคำ   มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทน นายพรหมมา   ทวีชาติ  ซึ่งย้ายมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านจอก  (คอนสวรรค์วิทยาคาร)  ตามหนังสือที่ 987/2501 ลงวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2501          

                 วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2505 ได้ปลูกสร้างอาคารเรียนขึ้นอีก 1 หลัง ตามแบบ ป. 1 – 1 ชั้น 4 ห้องเรียน  พื้นคอนกรีตหลังคามุงสังกะสี  โดยใช้เงินบริจาคจากชาวบ้าน  คณะครูในหมู่บ้านโดยยกเป็นอาคารชั่วคราวมุงหลังคาไว้ ต่อมาได้รับงบประมาณต่อเติมให้ครบถ้วนตามแบบแปลนสมบูรณ์ และเป็นอาคารเรียนได้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 เป็นต้นมา

                 วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2507  ทางราชได้แต่งตั้งให้ นายพรหมมา  ทวีชาติ  มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนนี้อีกครั้งหนึ่ง ตามหนังสือที่ 298/2507 ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2057  ในระยะนี้มีการพัฒนาการเรียนการสอนให้ดีขึ้น มีนักเรียนและครูเพิ่มขึ้นมาก  และการดำเนินการเรียนการสอนพัฒนาไปสู่รูปแบบและเป้าหมายยิ่งขึ้น

                วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2509  ได้โอนสังกัดจากกองการประถมศึกษา  กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด การดำเนินการต่าง ๆ  ได้เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุการณ์

                วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2511 ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ  ได้อนุมัติให้โรงเรียนเปิดสอนในระดับประถมศึกษาตอนปลาย และได้เปิดเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นปีแรก รับนักเรียนชาย 19 คน นักเรียนหญิง 16 คน รวม 35 คน

                ปีงบประมาณ 2513  ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบกรมสามัญ 017  จำนวน 1 หลัง 3 ห้องเรียน ได้รับงบประมาณก่อสร้างโรงฝึกงานตามแบบองค์การ 312 จำนวน 1 หลัง   และบ้านพักครูตามแบบองค์การ 2 ห้องนอน 1 หลัง

                วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2520 ทางราชการได้แต่งตั้ง นายทองคำแท้  ต่อชีพ  มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทน นายพรหมมา  ทวีชาติ ตามคำสั่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ ที่ 105/2520 ลงวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2520 ในปีงบประมาณ 2520 ได้รับงบประมาณต่อเติมอาคารเรียนแบบกรมสามัญ 017  อีก 4 ห้องเรียน และอาคารหลังนี้ได้สร้างครบแบบแปลนเรียบร้อยทั้งชั้นบนและชั้นล่าง  รวม 14 ห้องเรียน และในปีงบประมาณเดียวกันนี้  ได้รับงบประมาณก่อสร้างบ้านพักครูแบบองค์การฯ             2 ห้องนอน  จำนวน 2 หลัง และส้วมอีก 1หลัง 3 ที่นั่ง  ในปีงบประมาณ 2521  ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารโรงอาหารตามแบบองค์การฯ 312 จำนวน 1 หลัง บ้านพักครู 2 หลัง ส้วม 1 หลัง 3 ที่นั่ง

                ในปีการศึกษา 2521  ได้ปรับปรุงตำแหน่งสายงานผู้บริหารสถานศึกษาให้สูงขึ้นเป็นตำแหน่งอาจารย์ใหญ่  ทางราชการได้ส่ง  นายทองคำแท้  ต่อชีพ ไปศึกษาระดับปริญญาตรีที่วิทยาลัยครูนครราชสีมาเป็นเวลา 2 ปี  และแต่งตั้งให้  นายกำพล  กองแก้ว  ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิชาการเป็นผู้รักษาการแทน               

             ปี 2522 โรงเรียนได้รับการปรับปรุงให้เป็นโรงเรียนชุมชน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด จึงได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น  “ โรงเรียนชุมชนบ้านโสก ”  และในปีการศึกษานี้ได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช 2521 เป็นปีแรก  เพื่อให้สอดคล้องตามแผนการศึกษาชาติพุทธศักราช 2520

                พ.ศ. 2523  นายทองคำแท้  ต่อชีพ  สำเร็จการศึกษากลับมาดำรงตำแหน่งเดิม ได้นำโรงเรียนเข้าประกวดและได้รับรางวัลชนะเลิศระดับจังหวัด   และในปีนี้โรงเรียนได้ปรับปรุง พัฒนาสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ของโรงเรียนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ได้มาตรฐานและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

                วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2523  ได้โอนกิจการโรงเรียนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด  ไปสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ  ได้จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช 2521 โดยพัฒนาการเรียนการสอนแนวใหม่ บทบาทของครูผู้สอนลง      ให้นักเรียนมีโอกาสศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง  ยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลางจัดสื่อการเรียนการสอน        และนวัตกรรมทางการศึกษามาปรับปรุงกิจกรรมการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น

                ปีงบประมาณ 2524  ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนตามแบบ ป.1 ฉ ใต้ถุนสูง จำนวน   1 หลัง 4 ห้องเรียนพร้อมครุภัณฑ์ครบทุกห้อง

                ปีงบประมาณ 2525 ได้รับงบประมาณก่อสร้างส้วมและถังสุขาภิบาลแก๊สชีวภาพ 1 หลัง 4 ที่นั่ง และในปีนี้โรงเรียนได้รับอนุมัติโครงการพิเศษ 2 โครงการ คือ โครงการแก๊สชีวภาพในโรงเรียนประถมศึกษาและโครงการทอผ้ามัดหมี่ในโรงเรียนประถมศึกษา ซึ่งทั้ง 2 โครงการนี้เป็นโครงการนำร่อง  โรงเรียนได้บริหารโครงการดังกล่าวให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และได้ผลดีตามสมควร

                ในปีงบประมาณ 2526  ได้รับงบประมาณซ่อมแซมหอประชุม  ซ่อมแซมอาคารเรียน ซ่อมแซมบ้านพักครู  สร้างเรือนเพาะชำ  ต่อเติมชั้นล่างอาคาร ป.1 ฉ. พร้อมครุภัณฑ์ ครบ 4 ห้องเรียน

                วันที่ 4 กันยายน 2530 โรงเรียนได้รื้ออาคารที่ชำรุด  2  หลัง คือ  อาคารตามทะเบียนที่ราชพัสดุเลขที่ 1 และ 2 ตามหนังสืออนุมัติรื้อถอนของสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ ที่ ศธ1417.05/850 ลงวันที่ 16 มิถุนายน 2530 เพื่อนำวัสดุที่ไดจากการรื้อถอนไปสร้างโรงฝึกงานตามแบบองค์การฯ 312 จำนวน 1 หลัง และซ่อมแซมอาคารหอประชุมเสร็จเรียบร้อยไปด้วยดี

                ปีงบประมาณ 2533  ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ตามแบบ สปช. 205/26 จำนวน 1 หลัง ในวงเงิน 1,000,000 บาท  และสร้างส้วมแบบ สปช. 601/26 จำนวน 1 หลัง 4 ที่นั่ง              

                ปีการศึกษา 2533  กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการได้คัดเลือกโรงเรียนเข้าร่วมเป็นโรงเรียนร่วมพัฒนาการใช้หลักสูตร และเปิดสอนตามหลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ทุกชั้นเรียน

                ปีการศึกษา 2533  ได้รับอนุมัติให้เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ตามโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นปีแรก รับนักเรียนเข้าเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 2 ห้องเรียน นักเรียน 60 คน

                ปีงบประมาณ  2534  ได้รับอนุมัติให้รื้อถอนอาคารหอประชุมหลังเก่า  เพื่อนำวัสดุที่เหลือไปใช้ก่อสร้างอาคารลูกเสือ จำนวน 9 หลัง ค่าแรงงานในการก่อสร้างได้จากเงินบริจาค 5,000 บาท และ ในปีเดียวกันนี้ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนตามแบบ สปช. 2/28 จำนวน 1 หลัง 3 ชั้น 12  ห้องเรียนพร้อมครุภัณฑ์ห้องเรียนครบ ในวงเงินงบประมาณ  3,446,000  บาท  และส้วมตามแบบ สปช.601/26 จำนวน 1 หลัง 10 ที่นั่ง ในวงเงินงบประมาณ 250,000 บาท

                วันที่ 5 มีนาคม 2537 นายทองคำแท้  ต่อชีพ  อาจารย์ใหญ่  ได้เสียชีวิตลงทำให้ตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ว่างลง ทางราชการให้นายเสรี  พงษ์จำนงค์  ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ ในปีนี้ได้รับอนุมัติงบประมาณก่อสร้างสนามบาสเกตบอล 1 สนาม   และงบประมาณค่าซ่อมแซมรั้วคอนกรีตและถนนภายในโรงเรียน  ตามหนังสือ ที่ ศธ 1417.05/482  วันที่ 3 มีนาคม 2537  ในวันที่ 30 มิถุนายน 2537 ทางราชการได้แต่งตั้งให้นายปราสาท  นาคคำ  มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่แทนตำแหน่งที่ว่าง  ตามหนังสือคำสั่งสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดชัยภูมิ ที่ 356/2537 สั่ง  ณ วันที่    14  มิถุนายน  2537  และเนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ  มีนโยบายและเป้าหมายให้โรงเรียนในสังกัดปฏิบัติภาระกิจต่างๆ ให้เป็นไปตามความคาดหมายของหลักสูตรโรงเรียนจึงได้จัดกิจกรรมที่เน้นให้คุณภาพการศึกษาเป็นสำคัญ  โดยเน้นการอ่านคล่องเขียนคล่อง  และคิดเลขเร็ว ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาคน พัฒนาอาชีพจนสามารถนำโรงเรียนให้เป็นโรงเรียนดีเด่นต่อเนื่องกันตลอดมา  และในปีการศึกษา 2538 ได้คัดเลือกให้เป็นโรงเรียนประถมศึกษาดีเด่น ของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดชัยภูมิ  นอกจากนี้ยังได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดชัยภูมิ  ให้เป็นโรงเรียนนำร่องปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ  เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพการศึกษาให้ก้าวไปสู่โรงเรียนในอุดมคติอย่างจริงจังต่อไป  ในปีการศึกษา 2540  ได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนต้นแบบ เป็นสถานที่ศึกษาดูงานในการอบรมผู้บริหารสถานศึกษาในปีการศึกษา 2541 ได้รับรางวัลชนะเลิศ การประกวดสวดมนต์หมู่ทำนองสรภัญญะระดับจังหวัด   เป็นตัวแทนเข้าแข่งขันระดับเขตการศึกษา  นอกจากนี้ยังได้รับคัดเลือกจากสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดชัยภูมิ  ให้เป็นโรงเรียนศูนย์ปฏิรูปการศึกษา, โรงเรียนเครือข่ายวิทยาศาสตร์  และเป็นโรงเรียนชนะเลิศกิจกรรมแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับ ป. 5 – 6 ที่ 1 ระดับจังหวัดปี 2540,และปี 2541   ในปี 2542 เป็นโรงเรียนแกนนำระบบบริหาร ISO 9002 มาใช้ในการบริหารโรงเรียน,โรงเรียนยุวทูตความดี  ของ สปจ.ชัยภูมิ และกระทรวงการต่างประเทศ โรงเรียนประถมศึกษาดีเด่น สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอคอนสวรรค์  ปี 2542 โรงเรียนจัดทำธรรมนูญโรงเรียนดีเด่น เขตการศึกษา 11 และ สปช. ปี 2543

วันที่ 21 มีนาคม 2543  กระทรวงศึกษาธิการ  ได้ประกาศจัดตั้งโรงเรียนชุมชนบ้านโสก        เครือข่ายสถานศึกษาต้นแบบของสถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษาเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวอย่างและชี้แนะกลวิธีในการพัฒนาสถานศึกษาให้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา  ที่สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษาส่งมาศึกษาดูงาน

ปีการศึกษา 2544 โรงเรียนชุมชนบ้านโสกได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนเครือข่ายการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี 2544  และปีการศึกษา 2545 โรงเรียนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสถานศึกษาต้นแบบ  เป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติงานพัฒนาข้าราชการครู  เพื่อเข้าสู่ตำแหน่งสายงานผู้บริหารในสถานศึกษา  เพื่อให้ผู้บริหารสถานศึกษามีวิสัยทัศน์กว้างไกล  ปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งอย่างมีประสิทธิภาพ

ปีการศึกษา 2546 โรงเรียนชุมชนบ้านโสก  ได้รับการประเมินให้เป็นโรงเรียน 5 ดาว  และได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนสมบูรณ์แบบ  ของสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอคอนสวรรค์      สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดชัยภูมิ

วันที่ 30 กันยายน 2547  นายปราสาท  นาคคำ  ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนบ้านโสก เกษียณอายุราชการ 

วันที่ 13  ตุลาคม  2547  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้แต่งตั้ง  นายณรงค์เดช  ทวีชาติ มารักษาการในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่  ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสถานศึกษา  โรงเรียนชุมชนบ้านโสก  ตามคำสั่งสำนักงานงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ   เขต 1 ที่  762/47  ลงวันที่ 13 ตุลาคม  2547

วันที่ 18  ตุลาคม  2547  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้แต่งตั้ง  นายณรงค์เดช  ทวีชาติ มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนชุมชนบ้านโสก  ตามคำสั่งสำนักงานงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 1  ที่  792/47  ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2547

วันที่ 24 ธันวาคม 2547  นายณรงค์เดช  ทวีชาติ  ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา   โรงเรียนชุมชนบ้านโสก  ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.  2547

ปีการศึกษา  2547  โรงเรียนชุมชนบ้านโสก  ได้รับการคัดเลือกให้เป็น  “ โรงเรียนระบบดีโรงเรียนมีคุณภาพ ”  ซึ่งทางโรงเรียนจะพยายามรักษาความดีนี้ไว้ตลอดไป

ปีการศึกษา  2548  โรงเรียนชุมชนบ้านโสก ได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ      ระดับเหรียญทอง ซึ่งทางโรงเรียนจะพยายามรักษาความดีนี้ไว้ตลอดไป

ปีการศึกษา  2549  โรงเรียนชุมชนบ้านโสก  ได้รับรางวัลที่ 1  โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพดีเด่น ระดับจังหวัด  รางวัลที่ 1 โรงเรียนมีผลงานดีเด่นในการป้องกันโรคไข้เลือดออก และกำจัดลูกน้ำยุงลาย ระดับจังหวัด  และรางวัลที่ 2  การจัดกิจกรรมห้องสมุดดีเด่น  (โครงการนิสัยรักการอ่าน)

ปีการศึกษา 2550  วันที่ 24  มีนาคม  2551  โรงเรียนได้อนุมัติรื้อถอนบ้านพักครูด้านทางทิศตะวันตก  ของอาคารอเนกประสงค์  จำนวน 2 หลัง  ซึ่งก่อสร้างในปี พ.ศ. 2521 และ ปี พ.ศ. 2524     เพราะชำรุดมาก  และได้นำวัสดุที่ใช้การได้ไปสร้างอาคารประกอบ  เป็นห้องจัดกิจกรรมการเรียนการสอน             โรงเรียนชุมชนบ้านโสกได้ผ่านการประเมินโรงเรียนในโครงการระบบดีโรงเรียนมีคุณภาพ  จากสถาบันวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้

ปีการศึกษา 2551  โรงเรียนชุมชนบ้านโสก มีผลงานดีเด่น คือ โรงเรียนวิถีพุทธดีเด่น ระดับเขตพื้นที่การศึกษา  โรงเรียนจัดระบบกิจกรรมนักเรียนดีเด่นระดับชาติตามโครงการระบบดีโรงเรียนมีคุณภาพของสถาบันวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้  โรงเรียนได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษา  จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) และโรงเรียนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนยุวกาชาดน้อยตามรอยพระอาจารย์ดีเด่น

ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนชุมชนบ้านโสก  มีผลงานดีเด่น คือ  ได้รับรางวัลโครงงานเฉลิม  พระเกียรติเศรษฐกิจพอเพียง  โรงเรียนวิถีพุทธดีเด่น  โรงเรียนจัดกิจกรรมยุวกาชาดน้อยตามรอยสมเด็จอาจารย์  และโรงเรียนจัดกิจกรรมตามนโยบาย 3D  ดีเยี่ยม  ของศูนย์พัฒนาการศึกษา  นครกาหลง 3

**********************************